วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ





บทบาทหน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ


พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา


ในช่วง พ.ศ.2523 เป็นต้นมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมาก เกิดการประยุกต์งานด้านต่าง ๆ เช่น ระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้โทรสาร (facsimile) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)


ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการเรียนคอมพิวเตอร์จากเดิมเป็นวิชาเลือก แต่ในปัจจุบัน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2542 กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียน เพื่อให้เยาวชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม





ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ



เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ
ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจับัน และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (สุนทร แก้วลาย. 2531:166) พอสรุปได้ดังนี้
1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน
2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
5.ช่วยในการจัระบบอัติโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใชสารสนเทศ
6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน



ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษา ได้เปิดทำการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งแต่ละแห่งก็มีหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ปณิธานและวัตถุประสงค์ของแต่ละแห่ง แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการผลิตบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่มีคุณภาพออกสู่สังคม ทั้งนี้บุคลกรที่มีคุณภาพจะเกิดขึ้นได้นั้น การหล่อหลอมจากสถานศึกษาและหลักสูตรการเรียนการสอนย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้น ในทัศนะของข้าพเจ้าสรุปได้ดังนี้
               1. ด้านการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และปณิธานของวิชาชีพนั้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยยังเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้หลักสูตรจะต้องยึดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามกระแสของยุคสมัย โดยยังคงรากฐานที่สำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ และควรให้ความสำคัญกับการคิด วิเคราะห์ในเชิงระบบ และการประยุกต์ใช้ เนื่องจากบัณฑิตเมื่อจบการศึกษาออกไปแล้วจะต้องมีบทบาทสำคัญในการบูรณาการเทคโนโลยีกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนักเทคโนโลยีการศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับตัวสื่อและเครื่องมือมากกว่าการพัฒนารูปแบบและระบบการสอน


               2. ด้านผู้สอนและผู้เรียน การพัฒนาผู้สอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนผู้สอนในสาขาดังกล่าวค่อนข้างน้อย การสร้างผู้สอนรุ่นใหม่ยังขาดความต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนโดยตรง อีกทั้งต้องเร่งพัฒนาผู้สอนในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากในโลกยุคปัจจุบันสื่อหรือนวัตกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โลกทั้งใบถูกย่อลงมาเหลือเพียงแค่จอสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนส่วนใหญ่ต่างรับรู้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้สอนบางส่วนยังมีกรอบความคิดในรูปแบบเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตได้ อีกทั้งควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาและเผยแพร่งานวิชาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

                   ในด้านผู้เรียนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องพัฒนาแนวความคิดในเชิงระบบให้มากขึ้น การพัฒนาบุคลิกภาพในการเป็นผู้นำ และความภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง รวมทั้งการแสวงหาความรู้ใหม่ๆที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะระดับบัณทิตศึกษา ที่ต้องเน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัย ซึ่งการรับผู้เรียนที่จบจากสาขาวิชาที่หลากหลายทำให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความล่าช้าและไม่สอดรับกับประสบการณ์ของแต่ละคน ฉะนั้นการรับผู้เรียนในแต่ละภาคการศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนและจัดหลักสูตรที่หลากหลายให้สอดรับกับประสบการณ์และความถนัดให้มากที่สุด โดยเน้นกระบวนการวิเคราะห์และความคิดในเชิงระบบทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยที่หลากหลายโดยไม่เน้นไปที่การพัฒนาและสร้างสื่อเพียงอย่างเดียว การวิจัยด้านต่างๆ จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานและข้อมูลที่หลากหลายในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษานั่นเอง


              3. ด้านวิชาชีพ ปัจจุบันมีนักเทคโนโลยีการศึกษาที่ประกอบอาชีพตามองค์กรต่างๆอยู่เป็นจำนวนมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การที่จะส่งเสริมให้วิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้ได้รับการยอมรับและยกระดับให้ทัดเทียมกับสาขาอื่นๆ ได้นั้น องค์กรทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องเข้มแข็งและมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอยู่เสมอและต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อได้ในทุกระดับเพื่อพัฒนาและผลักดันวิชาชีพให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและพัฒนาการเรียนการสอนในระดับประเทศจะต้องเกิดขึ้น การส่งเสริมให้นักเทคโนโลยีการศึกษารุ่นใหม่ได้มีโอกาสแสดงความสามารถในระดับต่างๆ ยังมีน้อย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างขององค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีเกียรติในวงการศึกษา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาต่อไป

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

 
 
 
เทคโนโลยีทางการศึกษา.

             เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ

             สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น

             ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน

             Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ
             นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
             1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
             ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
             2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว

แหล่งอ้างอิง

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของการศึกษา


ความหมายของการศึกษา
ยัง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษาคือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาคือการนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์
โจฮัน เฟรดเดอริค แฮร์บาร์ต (John Friedich Herbart) ให้ความหมายของการศึกษาว่า การศึกษาคือ การทำพลเมืองให้มีความประพฤติดี และมีอุปนิสัยที่ดีงาม
เฟรด เดอริค เฟรอเบล (Friedrich Froebel) การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาตนเอง
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย คือ
1. การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต
2. การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
3. การศึกษาคือกระบวนการทางสังคม
4. การศึกษาคือการสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต
คาร์เตอร์ วี. กู๊ด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ 3 ความหมาย คือ
1. การศึกษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
2. การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้ความสามารถจากสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น
3. การศึกษาหมายถึงการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา ม.ล.ปิ่น มาลากุล การศึกษาเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคล
ดร. สาโช บัวศรี การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ทั้งหมดนี้เป็นการให้ความหมายของการศึกษาตามทัศนะของนักการศึกษาในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสรุปได้ว่า การศึกษา เป็นกระบวนการส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและมีคุณธรรมสูง

แหล่งอ้างอิง

ความหมายของเทคโนโลยี




เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ

เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ      แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ

แหล่งอ้างอิง

วิชา เทคโนโลยีทางการศึกษา

วิชา เทคโนโลยีทางการศึกษา
รหัส PC9204



คำอธิบายรายวิชา

    ความหมาย ของขอบข่ายและความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาและนวัฒกรรมการศึกษาต้องการเรียน การสอน วิธีระบบ กระบวนการสือสารความหมาย การจำแนกประเภทของสือการเรียนการสอน การเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและนำวัฒกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับเรียนการสอน การจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผลและการเก็บรักษา สือการเรียนการสอนฝึกปฏิบัติสื่อหลักที่เหมาะสมกับสภาพของชั้นเรียน